กลุ่มข่าว : สังคมและคุณภาพชีวิต
-
เร่งต่อยอดความร่วมมือภาครัฐ -เอกชน (กกร.) หาข้อสรุปขับเคลื่อนฟื้นเศรษฐกิจทุกมิติ
ผู้โพสต์ : [สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร] ทั่วไป
วันที่ 31 ต.ค. 2567 (16:29 น.)(28 ต.ค. 67) นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ร่วมหารือและรับมอบสมุดปกขาว ข้อเสนอแนวทางการแก้ปัญหาเศรษฐกิจประเทศ ที่จัดทำโดยภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ได้แก่ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สมาคมธนาคารไทย ซึ่งประเทศไทยประสบปัญหาศักยภาพการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลายาวนานกว่า 10 ปี ส่งผลกระทบต่อประชาชนและเกิดหนี้ครัวเรือนสูงขึ้น หากภาครัฐและเอกชนได้ร่วมมือกันในทุกมิติ กกร. เชื่อมั่นว่าในศักยภาพของรัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี จะสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทย ทั้งในระยะเร่งด่วน ระยะกลาง และระยะยาว เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถทางการแข่งขัน ของประเทศ 4 ด้าน ประกอบด้วย
1) การแก้ปัญหาเศรษฐกิจ
2) การช่วยเหลือธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
3) การบริหารจัดการน้ำ
4) การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
กกร. เชื่อมั่นว่าภายใต้ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิด จะมีส่วนช่วยผลักดันข้อเสนอดังกล่าวให้เกิดผลเป็นรูปธรรม เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้เติบโตได้เต็มศักยภาพ โดยมีเป้าหมายให้ GDP ของไทยกลับมาเติบโตเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 3 – 5% ในปี 2568 และเสนอให้รัฐบาลกำหนดการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) อย่างสม่ำเสมอทุกๆ 6 เดือน เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาและฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยให้เติบโต ได้เต็มศักยภาพ
นายกฯ ตอบรับมอบทุกกระทรวง ร่วมขับเคลื่อน
นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ หารือร่วมกันเพื่อให้ข้อเสนอของภาคเอกชน ได้รับการตอบสนองที่เป็นรูปธรรม ดังนี้
1. ให้นายพิชัย ชุณหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นำคณะจากฝ่ายข้าราชการ ประสานร่วมมือกับภาคเอกชนอย่างใกล้ชิดให้ได้ข้อยุติ ที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจที่เติบโตต่ำกว่าศักยภาพตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เช่น แก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือน ที่ต้องอาศัยการเพิ่มรายได้ของประชาชน และต้องผ่อนปรนภาระของประชาชน หนี้รถยนต์ ผ่อนบ้าน และหนี้ของผู้ประกอบการ SMEs เพื่อให้ได้ข้อยุติโดยเร็ว
2. ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการคณะทำงาน ที่มี ศ.ดร.ธงทอง จันทรางศุ เป็นประธาน ร่วมหารือกับภาคเอกชนดำเนินการแก้ไขกฎหมายที่เป็นอุปสรรคโดยเร็ว จากการวิจัยพบว่าเป็นอุปสรรคที่มีต้นทุนของภาคเอกชน ประมาณกว่า 100,000 ล้านบาทต่อปี เช่น ขั้นตอนที่มีความล่าช้าหรือซับซ้อนทำให้ธุรกิจเสียหาย ทำอย่างไรที่จะลดขั้นตอน หรือการออกใบอนุญาต ผลิต-ขาย หรือนำเข้า-ส่งออก
3. มาตรการเรื่องน้ำ มอบหมายให้ นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) และเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นำเป้าหมายและแผนงานที่ได้มอบหมายไว้ (สมัยรัฐบาลเศรษฐา) ภายใต้การทำงานของสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) และสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มาดำเนินการต่อเกิดการ บูรณาการเพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้งในอนาคต รวมถึงน้ำในภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมของประเทศไทย
4. มาตรการการแก้ปัญหาสินค้าออนไลน์รุกตลาดประเทศไทย ทำให้ธุรกิจ SMS ขนาดกลางขนาดเล็กและขนาดย่อมของไทยเสียเปรียบ อย่างมาก จึงมอบหมาย รมว.พาณิชย์ ในฐานะคณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจจากต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย ไปร่วมกับกระทรวง อีดี เร่งนำ 3 มาตรการที่เตรียมไว้มาใช้ โดยขอให้เสร็จภายใน 1 เดือน
1) การค้าขายสินค้าออนไลน์จากต่างชาติต้องมีการจดทะเบียนเป็นบริษัทในไทยเพื่อการควบคุมสินค้าและคุณภาพ และเข้าระบบภาษี
2) สินค้าที่ขายในออนไลน์ ต้องมีมาตรฐานอุตสาหกรรม หรือ มอก.
3) สินค้าอาหารและยา ต้องมีใบรับรองจากคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. กำกับ
พณ. ขานรับร่วมมือฟื้นเศรษฐกิจกับ กกร.
(29 ต.ค. 67) นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พาณิชย์ ระบุว่า รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ได้รับข้อเสนอที่เป็นประโยชน์หลายเรื่องมาดำเนินการ มีทั้งส่วนที่ดำเนินการแล้ว และเร่งดำเนินการ 4 เรื่อง ประกอบด้วย
• การแก้ไขปัญหาสินค้านำเข้าด้อยคุณภาพ
นายกรัฐมนตรีห่วงใยต่อปัญหาสินค้านำเข้าไม่มีคุณภาพมาตรฐานและธุรกิจต่างประเทศที่ผิดกฎหมาย ส่งผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการฯ และสั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ เข้าไปช่วยแก้ปัญหา ผ่านกลไก “คณะกรรมการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาสินค้าและธุรกิจจากต่างประเทศที่ฝ่าฝืนกฎหมาย” เพื่อดึง ทุกหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องร่วมกันเร่งรัดมาตรการเพื่อแก้ไขปัญหาให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว และตั้งเป้าให้มีความคืบหน้าอย่างชัดเจนภายใน 3 เดือนและนัดแรกจัดประชุมในวันที่ 30 ต.ค. 67 เพื่อติดตามความคืบหน้าและพิจารณามาตรการที่เกี่ยวข้องต่อไป
• การเร่งเจรจา FTA กับประเทศต่าง ๆ
กระทรวงพาณิชย์ได้เร่งรัดเจรจาความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement: FTA) กับประเทศใหม่ ๆ และเร่งสรุปผลการเจรจาที่ยัง คั่งค้างเพื่อช่วยดึงดูดการลงทุน รวมถึงใช้ประโยชน์ด้านส่งออก-นำเข้า โดยการเจรจา FTA ที่ใกล้ปิดดีล เช่น ไทย-สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Fair Trade Association: EFTA) มีสมาชิก 4 ประเทศ คือ ไอซ์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และสวิตเซอร์แลนด์ หากเจรจาสำเร็จในปีนี้ไทยจะเป็นประเทศแรกในอาเซียน ที่ทำ FTA กับ EFTA
นอกจากนั้น ยังมีการผลักดัน FTA อื่น ๆ เช่น FTA กับสหภาพยุโรป (EU) ปากีสถาน ภูฏาน UAE และอินเดีย คาดว่าจะสรุปผลการเจรจาได้อีกหลายฉบับ รวม ๆ มากกว่า 10 ประเทศ จากปัจจุบันไทยมี FTA 15 ฉบับกับ 18 ประเทศ จะทำให้ไทยเติบโตแบบก้าวกระโดด
• การอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบ 100%
เรื่องการอำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการ กระทรวงฯ ได้คิกออฟระบบการให้บริการส่งออกสินค้ามาตรฐาน “OCS Connect” ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเต็มรูปแบบ 100% โดยระบบดังกล่าว ครอบคลุมการให้บริการตั้งแต่การออกใบทะเบียน/ใบอนุญาต การตรวจสอบมาตรฐานสินค้า จนกระทั่งการออกใบรับรองมาตรฐานสินค้า เพื่อประกอบพิธีการศุลกากรขาออกผ่านระบบ National Single Window (NSW) ที่ง่าย สะดวก รวดเร็ว และเบ็ดเสร็จในแพลตฟอร์มเดียว โดยผู้ประกอบการไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการเดินทางเข้ามาติดต่อ เพราะมีการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อลดเอกสารที่ซ้ำซ้อน ลดขั้นตอนการดำเนินงานที่ไม่จำเป็น และรองรับการชำระค่าธรรมเนียมในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ e-Payment ได้ทันที
• การปิดบัญชีบริษัทม้าที่เชื่อมโยงกับบัญชีม้า
กระทรวงพาณิชย์ได้สั่งการให้กรมพัฒนาธุรกิจการค้า หารือร่วมกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และกระทรวงดีอี โดยได้นัดหมายกันในวันที่ 31 ต.ค. นี้ กำหนดมาตรการในเบื้องต้น
โดยกรมพัฒนาธุรกิจการค้าจะได้ชะลอการจดทะเบียนนิติบุคคลให้กับบุคคลที่อยู่ในบัญชีความเสี่ยง มีการเพิ่มความเข้มงวดในการรับ จดทะเบียนด้วยมาตรการต่าง ๆ เช่น ให้บุคคลที่เป็นผู้ต้องสงสัยตามประกาศรายชื่อ HR 03 ของ ปปง. (รายชื่อบุคคลผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดมูลฐานหรือเป็นเจ้าของบัญชีเงินฝากธนาคารที่ถูกใช้ ในการกระทำความผิด) ต้องมาแสดงตนต่อหน้านายทะเบียน เป็นต้น
- 31 ต.ค.2567
- [16:42] ทั่วไป ครม. รับหลักเกณฑ์เร่งรัดแก้ปัญหาสัญชาติกว่า 4.8 แสนคน ลดขั้นตอนมอบสัญชาติ
- [16:29] ทั่วไป เร่งต่อยอดความร่วมมือภาครัฐ -เอกชน (กกร.) หาข้อสรุปขับเคลื่อนฟื้นเศรษฐกิจทุกมิติ
- [16:20] ทั่วไป จังหวัดยโสธร ร่วมกับ สถาบันปิดทองหลังพระฯ เสริมศักยภาพแหล่งน้ำขนาดเล็ก ช่วยเหลือเกษตรกรกว่า 300 ครัวเรือน
- [15:29] ทั่วไป สสค.ยโสธร ร่วมประชุมคณะกรมการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ และนายอำเภอ จังหวัดยโสธร ครั้งที่ 10/2567 ประจำเดือนตุลาคม 2567
- [15:07] ทั่วไป นายกฯ สั่งทุกกระทรวง บูรณการใช้มาตรการรับมือแก้ปัญหา PM2.5
- [14:52] ทั่วไป สสค.ยโสธร ร่วมประชุมคณะกรรมการรักษาความมั่นคงและความสงบเรียบร้อยจังหวัดยโสธร และร่วมประชุมคณะกรรมการศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดยโสธร (ศอ.ปส.จ.ยส.) ครั้งที่ ๑๐/๒๕๖๗
- [14:50] ทั่วไป สสค.ยโสธร รับมอบประกาศเกียรติคุณ เป็นหน่วยงาน องค์กรเข้าร่วมกิจกรรมทำบุญตักบาตร ย้อนยุควิถีถิ่น วิถีไทย ถนนคนเดินยโสธร เมืองเก่าบ้านสิงห์ท่า ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
- 30 ต.ค.2567
- [13:19] ทั่วไป ยโสธร ประชุมกรมการจังหวัด พร้อมขับเคลื่อนนโยบายรัฐบาลสู่ประชาชน
- [08:39] ทั่วไป สสค.ยโสธร ร่วมสังเกตการณ์การฝึกซ้อมดับเพลิงและการฝึกซ้อมอพยพหนีไฟของสถานประกอบกิจการในพื้นที่อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร ประจำปี 2567...............
- [08:37] ทั่วไป สสค.ยโสธร ร่วมพิธีวางพานพุ่มดอกไม้ถวายราชสักการะพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนไทย” เนื่องใน “วันภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยแห่งชาติ” ประจำปี พ.ศ. 2567