กลุ่มข่าว : เกษตรกรรม
-
จังหวัดยโสธร ขับเคลื่อนการปลูกพืชหลังนา ลดการเผา ลดฝุ่น PM 2.5 ด้วยการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ภายใต้หลักสูตร “Train the trainer เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ”
ผู้โพสต์ : [สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร] ทั่วไป
วันที่ 12 พ.ย. 2567 (13:06 น.)วันที่ 12 พฤศจิกายน 2567 เวลา 08.30 น. นายชรินทร์ ทองสุข ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตร “Train the trainer เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร : ถั่วเขียวพันธุ์ KUML” โดยมี นายนพดล ผุดผ่อง เกษตรจังหวัดยโสธร หัวหน้าส่วนราชการ วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เจ้าหน้าที่ของสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร และเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรจังหวัดยโสธร และผู้ที่เกี่ยวข้อง ร่วมงาน ณ โรงแรมเจพี เอมเมอรัลด์ ตำบลในเมือง อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
ทั้งนี้ จังหวัดยโสธร โดย สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร กรมส่งเสริมการเกษตร บูรณาการร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และ ภาควิชาพืชไร่นา คณะเกษตรกำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการขยายผลเทคโนโลยีการผลิต ถั่วเขียวคุณภาพสายพันธุ์ KUML โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พัฒนาถั่วเขียวสายพันธุ์ดี 6 สายพันธุ์ (KUML 1-5,8) ที่ให้ผลผลิต 300 กิโลกรัมต่อไร่ ขนาดเมล็ดใหญ่ มีความต้านทานต่อโรคราแป้งและโรคใบจุด
ซึ่งถั่วเขียวพันธุ์ KUML จะเป็นพืชทางเลือกในการเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรช่วงหลังฤดูทำนา เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อย อายุเก็บเกี่ยว 65 – 70 วัน โดยใช้กลไก “ตลาดนำการผลิต” ดำเนินการร่วมกับภาคเอกชน สหกรณ์เกษตรอินทรีย์เลิงนกทาไทยเจริญ จำกัด ในการรับซื้อผลผลิตถั่วเขียวพันธุ์ KUML ของพี่น้องเกษตรกร อีกทั้งการปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ยังเป็นการลดการเผาในพื้นที่การเกษตรหลังการทำนาของพี่น้องเกษตรกร อันเป็นการลดการเกิดฝุ่นละออง PM 2.5 ในพื้นที่จังหวัดยโสธร อีกด้วย
โดยผู้เข้าร่วมอบรมประกอบด้วย นักวิชาการส่งเสริมการเกษตรระดับอำเภอ, ระดับจังหวัด, เกษตรอำเภอ ของสำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร และเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร รวม 100 คน ส่วนวิทยากรบรรยายความรู้ ได้รับความร่วมมือจาก คณะอาจารย์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตถั่วเขียว KUML ด้วยกลไกตลาดนำการผลิตให้กับเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดยโสธร และเจ้าหน้าที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ให้มีองค์ความรู้การปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ตามหลักวิชาการ สามารถนำความรู้ไปส่งเสริมการทำงานให้เกิดประสิทธิภาพ สร้างอาชีพและรายได้แก่เกษตรกรในพื้นที่จังหวัดยโสธรอย่างยั่งยืน ต่อไป ... ///******
#สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดยโสธร / ข่าว
#พืชหลังนาถั่วเขียวพันธุ์KUML
#ลดเผาลดฝุ่นPM25- 12 พ.ย.2567
- [13:06] ทั่วไป จังหวัดยโสธร ขับเคลื่อนการปลูกพืชหลังนา ลดการเผา ลดฝุ่น PM 2.5 ด้วยการส่งเสริมเกษตรกรให้ปลูกถั่วเขียวพันธุ์ KUML ภายใต้หลักสูตร “Train the trainer เทคโนโลยีการผลิตพืชหลังนาแบบครบวงจร ”
- 11 พ.ย.2567
- [09:32] ทั่วไป ลูกพันธุ์สัตว์น้ำพร้อมจำหน่าย 11 - 15 พฤศจิกายน 2567 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร
- 8 พ.ย.2567
- [19:10] ทั่วไป เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร ร่วมประชุมซักซ้อมการใช้งานระบบฐานข้อมูลสินทรัพย์กรมประมง หัวข้อ วัสดุคงคลัง/แบบพิมพ์
- 5 พ.ย.2567
- [13:29] ทั่วไป นางสาวชญาภา จันทร์ศรีผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการเงินทุนหมุนเวียนในการผลิตพันธุ์ปลา พันธุ์กุ้ง และพันธุ์สัตว์น้ำอื่นๆ
- [12:50] ทั่วไป นางสาวชญาภา จันทร์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมชี้แจงแนวทางการปฏิบัติงานโครงการภายใต้ความรับผิดชอบของกองวิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ประจำปีงบประมาณ 2568 (จำนวน 3 โครงการ)
- 4 พ.ย.2567
- [10:19] ทั่วไป ลูกพันธุ์สัตว์น้ำพร้อมจำหน่าย 4 - 8 พฤศจิกายน 2567 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร
- 1 พ.ย.2567
- [18:21] ทั่วไป นางสาวชญาภา จันทร์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมคณะทำงาน OKR ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อประชุมปรึกษา หารือ เกี่ยวกับการเตรียมพันธุ์สัตว์น้ำ เพื่อปล่อยลงแหล่งน้ำตามข้อสั่งการกรมประมง
- [18:19] ทั่วไป นางสาวชญาภา จันทร์ศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร และเจ้าหน้าที่ศูนย์ฯ ร่วมประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมประมง (Fisheries Co-ordinator : FC) จังหวัดยโสธร ครั้งที่ 9/2567
- 30 ต.ค.2567
- [23:47] ทั่วไป นายศุภรัตน์ ขันงาม นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร สนับสนุนพันธุ์ปลาตะเพียนขาว จำนวน 50,000 ตัว ให้แก่เจ้าหน้าที่อบต.ขั้นไดใหญ่ ซึ่งได้ประสานขอสนับสนุนโดยสำนักประมงจังหวัดยโสธร
- [15:13] ทั่วไป นายศุภรัตน์ ขันงาม นักวิชาการประมงปฏิบัติการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืดยโสธร สนับสนุนพันธุ์ปลากินพืช จำนวน 73,000 ตัว ให้แก่เจ้าหน้าที่ศาลจังหวัดยโสธร เพื่อนำไปปล่อยในกิจกรรมปล่อยพันธุ์สัตว์น้ำ